บริการวิชาการ
โครงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

()
ความร่วมมือทางวิชาการกับกรมเจ้าท่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เอ็นแคด คอนซัลแตนท์ จำกัด
เนื่องจากพื้นที่ชายหาดหัวหินประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงตลอดทั้งแนว โดยปัจจุบันสภาพชายหาดหัวหินก็ยังประสบปัญหาการกัดเซาะอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ชายหาดถดถอยและลดขนาดลงไปทุกปีจากการทบทวนรายงานโครงการศึกษาแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ตั้งแต่ปากแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ถึงปากแม่น้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2546 ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรายงานวิชาการ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ของกองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี พบว่า อัตราการกัดเซาะของชายหาดหัวหินมีความรุนแรงปานกลาง ค่าอัตราการกัดเซาะประมาณ 1-5 เมตรต่อปี จากสภาพดังกล่าวปัญหาดังกล่าวจึงควรได้รับการแก้ไขโดยเร็ว จึงได้ศึกษาวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบ เพื่อเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยพื้นที่ศึกษาเริ่มตั้งแต่ชายฝั่งท่าอากาศยานหัวหิน หรือเดิมคือ สนามบินบ่อฝ้าย ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน ลงไปทางทิศใต้จนถึงเขาตะเกียบ ตำบลหนองแก อำเภอหัวหินระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 14.25 กิโลเมตร ซึ่งโครงการฯ อยู่ในระยะการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม อีกทั้งโครงการฯ ยังเปิดโอกาศให้นิสิตปริญญาโท ของภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม ได้ฝึกประสบการณ์ลงพื้นที่เก็บข้อมูลคุณภาพสิ่งแวดล้อม อีกด้วย
บริการวิชาการอื่นๆ

()
ความร่วมมือทางวิชาการ โครงการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กับ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด
ข้อมูลเพิ่มเติม

()
โครงการศึกษาวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพื่อเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะชายหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี
ข้อมูลเพิ่มเติม

()
คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ข้อมูลเพิ่มเติม